นักเรียน  ที่มีผลการเรียนเป็น  0.   ร.    มส.  ให้รีบดำเนินการแก้ไขตามขั้นตอน ให้แล้วเสร็จภายในวันที่  30  พฤษภาคม  2557 


 

                                  ผลการเรียน “0” ดำเนินการอย่างไร
สาเหตุที่ได้ "0" 
          ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ (ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนระหว่างภาคเรียนกับปลายภาครวมกัน) 
                                   การเปลี่ยน "0" 
        • สอบแก้ตัวได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ภายในภาคเรียนถัดไป 
        • ถ้ามีเหตุสุดวิสัย หัวหน้าสถานศึกษาขยายเวลาได้อีก 1 ภาคเรียน 
        • ผลการสอบแก้ตัว ได้ไม่เกิน "1" 
        • ถ้าสอบแก้ตัวได้ "0"
              - เรียนซ้ำ 
              - เปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่ 
              - คงไว้สภาพเดิม 
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข แล้วแต่กรณี
 

                          ขั้นตอนการแก้ "0" 
1. สำรวจรายวิชาที่ติด "0" ว่ามีหน่วยกิตเท่าใด เรียนกี่คาบต่อสัปดาห์ ครูประจำวิชาคือใคร ปีการศึกษาที่ติด "0" ในรายวิชานั้น 
2. ยื่นคำร้องขอสอบแก้ตัว โดยรับแบบยื่นคำร้องที่ห้องวิชาการ
กรอกข้อมูลในใบคำร้องให้เรียบร้อยและครบถ้วน

3. นำใบคำร้องไปติดต่อครูประจำวิชาเพื่อขอสอบแก้ตัว แล้วครูประจำวิชาจะรับยื่นแบบคำร้องดำเนินการแก้ตัวตามขั้นตอน 

4. ติดตามผลการสอบแก้ตัว ที่ครูประจำชั้น ถ้า "ไม่ผ่าน" ต้องยื่นแบบคำร้องเพื่อขอสอบแก้ตัวในครั้งที่ 2 และดำเนินการตามขั้นตอนเดิมข้างต้น

 5. เมื่อแก้ตัวเสร็จให้นำใบแจ้งผลสอบส่งฝ่ายวิชาการ งานทะเบียนและวัดผลเพื่อเสนอผู้บริหารลงนามต่อไป


ผลการเรียน "ร" ดำเนินการอย่างไร

 

สาเหตุที่ได้ "ร" 
        1. ไม่ได้ส่งงาน (ต้องเป็นชิ้นงานสำคัญตามจุดประสงค์การเรียนรู้และได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าสถานศึกษาก่อน)
        2. ไม่ได้วัดผลปลายภาค

การเปลี่ยน "ร" 
        ให้ผู้เรียนดำเนินการแก้ไขตามสาเหตุให้เสร็จสิ้นในภาคเรียนถัดไป 
ถ้ามีเหตุสุดวิสัยหัวหน้าสถานศึกษาขยายเวลาได้อีก 1 ภาคเรียน 
ถ้าไม่มาดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดให้เรียนซ้ำ

 

ผลการแก้ "ร" 
        ถ้าไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ได้ "0-1" 
        ถ้ามีเหตุสุดวิสัย ได้ "0-4" 
        ถ้าแก้ "ร" แล้วได้ 0 ดำเนิการตามวิธีการ แก้ "0"

 ขั้นตอนการแก้ "ร" 
        1. สำรวจรายวิชาที่ติด "ร" ว่ามีหน่วยการเรียนเท่าใด เรียนกี่คาบต่อสัปดาห์ ครูประจำวิชาคือใคร ปีการศึกษาที่ติด "ร" ในรายวิชานั้น 
        2. ยื่นแบบคำร้องขอแก้ "ร" โดยรับแบบคำร้องที่ฝ่ายวิชาการ ยื่นตรงต่อครูประจำวิชาเพื่อดำเนินการแก้ "ร" 
        3.  ติดตามผลการแก้ "ร" ที่ครูประจำชั้น หากผลการแก้ "ร" ได้ "0" ต้องดำเนินการขั้นตอนของการแก้ "0"  

        4. เมื่อแก้ตัวเสร็จให้นำใบแจ้งผลส่งฝ่ายวิชาการ งานทะเบียนและวัดผลเพื่อเสนอผู้บริหารลงนามต่อไป


                                           การเปลี่ยน "มส" ดำเนินการอย่างไร

           การเปลี่ยน "มส" 
กรณีที่ 1.ถ้ามีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 แต่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมดให้แก้ไขภาคเรียนถัดไป ยกเว้น มีเหตุสุดวิสัยหัวหน้าสถานศึกษาขยายเวลาได้อีก 1 ภาคเรียน 
        - ถ้าไม่มาดำเนินการตามกำหนดเวลา "ลงทะเบียนเรียนซ้ำ" หรือเปลีย่นรายวิชาเรียนใหม่ (สำหรับวิชาพื้นฐาน และวิชาเพิ่มเติม)
        - การแก้ "มส" ให้เรียนเพิ่มเติมจุดประสงค์ที่ยังไม่ได้เรียน 
        - ผลการแก้ "มส" ได้ 0-1 
กรณีที่ 2.ถ้ามีเวลาเรียนน้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด 
        - วิชาพื้นฐาน ลงทะเบียนเรียนซ้ำ 
        - วิชาเพิ่มเติม ลงทะเบียนเรียนซ้ำ หรือเปลี่ยนรายวิชาเรียนใหม่
 

ผลการแก้ "มส" 
ถ้าแก้ "มส" ได้ "0" ให้ดำเนินการแก้ "0" ตามระเบียบ
 

                            ขั้นตอนการแก้ "มส" 
        1. สำรวจรายวิชาที่ติด "มส" ว่ามีหน่วยการเรียนเท่าใด เรียนกี่คาบต่อสัปดาห์ ครูประจำวิชาคือใคร ปีการศึกษาที่ติด "มส" ในรายวิชานั้น 
        2. ยื่นแบบคำร้องขอมีสิทธิ์เพื่อสอบแก้ "มส" โดยรับแบบคำร้องที่ฝ่ายวิชาการ ยื่นตรงต่อครูประจำวิช่า
        3. ในกรณีที่ต้องลงทะเบียนเรียนซ้ำ ให้นำคำร้องขอลงทะเบียนเรียนซ้ำที่ฝ่ายวิชาการ 
งานทะเบียน-วัดผลนำไปให้ครูประจำวิชา 
        4. ติดตามผลการแก้ "มส" ที่ครูประจำวิชา หรือฝ่ายทะเบียน-วัดผล


                                                              ขั้นตอนการเรียนซ้ำ
                    สถานศึกษาจะจัดให้ผู้เรียนเรียนซ้ำใน 2 กรณี ดังนี้ 
        1. เรียนซ้ำรายวิชา หากผู้เรียนได้รับการสอนซ่อมเสริมและสอบแก้ตัว 2 ครั้งแล้วไม่ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ให้เรียนซ้ำในรายวิชานั้น ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาในการจัดเรียนซ้ำในช่วงใดช่วงหนึ่งที่สถานศึกษาเห็นว่าเหมาะสม เช่น พักกลางวัน วันหยุด ชั่วโมงว่าง เลิกเรียน ปิดภาคเรียน เป็นต้น
        2. เรียนซ้ำชั้น มี 2 ลักษณะ คือ
               - ผู้เรียนมีระดับผลการเรียนเฉลี่ยในปีการศึกษานั้นต่ำกว่า 1.00 และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น
               - ผู้เรียนมีผลการเรียน 0, ร, มส เกินครึ่งหนึ่งของรายวิชาที่เรียนในปีการศึกษานั้น ทั้งนี้หากเกิดลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือ ทั้ง 2 ลักษณะ ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา หากเห็นว่าไม่มีเหตุผลพอสมควรให้ซ้ำชั้น โดยยกเลิกผลการเรียนเดิมและใช้ผลการเรียนใหม่แทน หากพิจารณาแล้วไม่ต้องเรียนซ้ำ ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษาในการแก้ไขผลการเรียน

 

                 ระยะเวลาในการดำเนินการจะขึ้นอยู่กับงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละรายวิชา