ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง เคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย             นางอุไรวรรณ บุญศรีทุม

ปีที่วิจัย           2563

         

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความจำเป็น ปัญหาในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถ   ในการแก้ไขปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง เคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง เคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง เคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง เคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดําเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) มี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ อาศัยข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งข้อมูล โดยการสังเกตสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มร่วมกับ   ครูและนักเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem - Based Learning)  นําข้อมูลมากําหนดโครงสร้าง องค์ประกอบของรูปแบบการสอนและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้รูปแบบการสอน โดยการนํารูปแบบการสอนไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม จํานวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้  2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา 3) แบบประเมินพฤติกรรมทางการเรียน 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และ 5) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และส่วนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลจากการนํารูปแบบการสอนไปทดลองสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที (t-test dependent)

          ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

         1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง เคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ควรจัดกิจกรรมที่เหมาะสมที่เน้นให้เกิดการคิด กระบวนการกลุ่มให้ระดมสมอง จำเป็นต้องวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน วัตถุประสงค์การเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ รวมทั้งวัดและประเมินผลตามสภาพจริง  ซึ่งผลการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่องเคมีไฟฟ้า ที่ควรปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และภาพรวมของผลการวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง เคมีไฟฟ้าที่ครูปฏิบัติจริง อยู่ในระดับปานกลาง

          2. รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถ   ในการแก้ไขปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง เคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล โดยรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดของจอยซ์และเวลล์ (Joyce & Weil. 1992) 4 ประการ คือ ขั้นตอนการสอนตามรูปแบบการสอน (Syntax) หลักการของการปฏิสัมพันธ์ (Social System) หลักการของการตอบสนอง (Principles of Reaction) ระบบการสนับสนุน การเรียนการสอน (Support System) เพื่อให้ได้รูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.58/85.36 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้       

          3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมทางการเรียนของตนเอง หลังเรียนมีพฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อยกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.59 และหลังเรียนโดยรวมเป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติบ่อย มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.49

          5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5มีระดับความคิดเห็นต่อเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ทั้ง 2 ด้านคือ ด้านวิชาวิทยาศาสตร์และด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย (= 3.87, S.D.= 0.67)

          6. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          7.   รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ไขปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ วิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง เคมีไฟฟ้า สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้