ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผู้วิจัย นางสุพรรณี โพธิ์ไพร
ปีที่ทำวิจัย พ.ศ. 2562

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ จาก 1) ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 2) ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน ๒0 คน ซึ่งเป็นนักเรียนเพียงห้องเดียวในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนในรายวิชาห้องสมุด (วิชาภาษาไทยเพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการสอนแบบวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที แบบไม่อิสระ และ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
     1.รูปแบบการเรียนการสอนนี้มีชื่อเรียกว่า “ICPCIRSE Model ” โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ ๑ ขั้นนำ (Introduction stage : I), ขั้นที่ ๒ ขั้นการคิดวิจารณญาณและแก้ปัญหา (Critical thinking and Problem solving stage : CP)ประกอบด้วย ๒.๑) วิเคราะห์เชิงระบบ (Systematic analysis) ๒.๒) วิเคราะห์เชิงโต้แย้ง (Argumentative analysis) และ ๒.๓) สร้างสรรค์ทางเลือก (Creative choice), ขั้นที่ ๓ ขั้นการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Creativity and Innovation stage : CI) ประกอบด้วย 3.1) เตรียมการ (Prepare), 3.2) จินตนาการ (Imagine), 3.3) การพัฒนา (Development), 3.4) การปฏิบัติ (Implementation), ขั้นที่ ๔ สะท้อนผล และ สรุป (Reflect and Summary stage : RS), ขั้นที่ ๕ วัดผลและประเมินผล (Assessment and Evaluation stage : E) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 82.41/83.27 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
     2. ประสิทธิผลผลของรูปแบบการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแบ่งเป็น
       2.1 ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
       2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอน
เพื่อส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนพึงพอใจต่อการสอนด้วยรูปแบบสอนด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเองและร่วมกันเรียนรู้กับผู้อื่น ครูเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมและนักเรียนสามารถสรุปความรู้ เชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้