ชื่อเรื่อง        การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201)

                  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย           นางสุพรรณี โพธิ์ไพร

ตำแหน่ง        ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา    โรงเรียนนาข่าวิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

สังกัด           องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

                 กระทรวงมหาดไทย

ปีที่วิจัย         2562

บทคัดย่อ

             การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201)กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาโครงร่างและการประเมินโครงร่างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201)กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ4) เพื่อประเมินหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) เพื่อมุ่งหวังพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม Cluster Random Sampling คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ความต้องการ แบบสำรวจความต้องการหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่า t-test แบบ Dependent Samples ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

                 1. การศึกษาความต้องการจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นตรงกันที่ต้องการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม

                 2. การพัฒนาโครงร่างและการประเมินโครงร่างหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า โครงร่างหลักสูตรมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความต้องการของสถานศึกษาส่วนประกอบต่าง ๆ ของหลักสูตรมีความกลมกลืนนำสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมเนื้อหาสาระการวัดและประเมินผลการเรียนรู้คลอบคลุมทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการประเมินความเหมาะสมแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมชัดเจน ตรงประเด็น องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ทุกส่วนมีความกลมกลืนสอดคล้องกันอย่างเหมาะสม โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.87)

                 3. การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์                 (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า

                     3.1 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ    (E1 / E2) เท่ากับ 84.22/82.40 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

                     3.2 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.64

                 4. การประเมินหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า

                     4.1 การประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้า (Input) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่พัฒนาขึ้น เป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหา บริบทและความต้องที่แท้จริงของท้องถิ่น มีความสอดคล้องเหมาะสมกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอน สามารถนำไปเป็นแนวทางพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย ในการเรียนรู้ ตามหลักสูตรได้เป็นอย่างดี

                     4.2 การประเมินความเหมาะสมของกระบวนการ (Process) พบว่า กระบวนการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม และกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความเหมาะสม ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ตรงตามหลักการ จุดมุ่งหมาย มีเนื้อหาสาระที่เหมาะสมสอดคล้องกับวัย ความถนัด ความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาแหล่งเรียนรู้ มีความหลากหลาย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นการปฏิบัติจริงและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญดำเนินไปตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่วางไว้ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จิตพิสัย ทักษะพิสัยให้กับผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ที่หลากหลาย และมีการพัฒนาการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

                     4.3 การประเมินผลผลิต (Product) พบว่า

                         1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

                         2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีทักษะกระบวนการโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

                         3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวม มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสรุป การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการอ่านเชิงวิเคราะห์ (ท22201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับความต้องการและสภาพที่แท้จริงของสถานศึกษา นำไปสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญภายใต้ความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยกระบวนการพัฒนาเริ่มจากการตรวจสอบความต้องการจำเป็นพื้นฐานของบริบท และความต้องการของผู้ปกครองนำสู่กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายและประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มตามศักยภาพภายใต้ความแตกต่างของแต่ละบุคคล เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณธรรมจริยธรรมสามารถดำรงตนอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข