ชื่อเรื่อง         การพัฒนารูปแบบการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะ

                   การคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

บทคัดย่อ

 

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 คน 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยนำข้อมูลจากระยะที่ 1 มาสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสม ของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ฯ ก่อนนำไปใช้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นกลุ่มทดลอง 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วย การจับสลากแบบยกกลุ่มทั้งห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีรายวิชาการออกแบบเทคโนโลยีจำนวน 12 แผน และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีรายวิชาการออกแบบเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) ประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบสอบถาม

             ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test แบบ Dependent Samples (Pre Test – Post Test)

            ผลการวิจัย พบว่า

1. แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  มีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นนำ 2) ขั้นการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง 3) ขั้นสมมติ

ตัวเองเปรียบเทียบกับสิ่งของ 4) ขั้นเปรียบเทียบคู่ขัดแย้ง 5) ขั้นอธิบายความหมาย 6) ขั้นสร้างสรรค์

งาน และ 7) ขั้นประเมินผลและสรุปผลการเรียนรู้

2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีลักษณะเป็นแผนภูมิโครงสร้างที่สัมพันธ์กัน 5 องค์ประกอบ ได้แก่

1) วัตถุประสงค์ 2) ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิด 3) สภาพและลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้4) องค์ประกอบของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 5) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นนำ 2) ขั้นการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง 3) ขั้นสมมติตัวเองเปรียบเทียบกับสิ่งของ 4) ขั้นเปรียบเทียบคู่ขัดแย้ง 5) ขั้นอธิบายความหมาย 6) ขั้นสร้างสรรค์งาน และ 7) ขั้นประเมินผลและสรุปผลการเรียนรู้และผลการประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.82)           

           3. ผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.07/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80ที่ตั้งไว้ มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.7700 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.00 และนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4มีความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

           4. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด