ชื่อเรื่อง               การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้รูปแบบสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง แรง และการเคลื่อนที่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย                 นางวารุณี หอมหวล

ปีการศึกษา          2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตกุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสะเต็มศึกษา เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบสะเต็มศึกษา เรื่อง แรง และการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิด สร้างสรรค์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบสะเต็มศึกษา เรื่อง แรง และการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรง เรียนนาข่าวิทยาคม จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 30 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสู่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบสะเต็มศึกษา เรื่อง แรง และการเคลื่อนที่ จำนวน 14 ชั่วโมงแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรง และการเคลื่อนที่ จำนวน 30 ข้อ และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 3 ข้อ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.95/76.58 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไวัคือ 75/75 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสะเต็มศึกษา เรื่อง แรง และการเคลื่อนที่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสะเต็มศึกษา เรื่อง แรง และการเคลื่อนที่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความคิดสรางสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : สะเต็มศึกษา ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิด สรางสรรค์