ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถ

                 ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้วิจัย          นางประนอม   หันทยุง

ตำแหน่ง       ครู  วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

สถานศึกษา   โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม 

                 กระทรวงมหาดไทย

ปีที่พิมพ์       2560

                                             บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) 

โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการรวบรวมข้อมูลแบบผสานวิธี (Mixed-Method Methodology)                 

มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและสภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้วิชา

ชีววิทยา  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด

อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น

โดยใช้แบบแผนการวิจัยและพัฒนา โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฏี และเก็บ

ข้อมูลจากการสอบถามของครูวิชาชีววิทยา  และตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มจากครูวิชา

ชีววิทยา ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการสอน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการ

เรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 4 และตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการ

จัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2

ปีการศึกษา 2559  โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม 

กระทรวงมหาดไทย  จำนวน 1 ห้อง จำนวน 25 คน   ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster  Random

Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปการจัดการ

เรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 40 ข้อ ค่าความยากตั้งแต่ 0.24 - 0.94

มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21 - 0.78 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่า 0.76 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้

ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent

Samples) 

     ผลการวิจัย  พบว่า  

         1. สภาพทั่วไป และสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา  ครูวิชาชีววิทยา 

ส่วนมากพยายามจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน

แต่นักเรียนยังมีพฤติกรรมที่ไม่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

       2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมี

วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการแนวคิด

ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้  4) ระบบสังคม 5) หลักการ

ตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน ทั้งนี้ได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ประกอบด้วย

1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Check prior knowledge) 2) ขั้นสร้างความขัดแย้งทางความคิด

(Confliction) 3) ขั้นการปฏิบัติ (Conduction) 4) ขั้นสรุป (Concluding) 5) ขั้นประเมินผล

(Evaluation)

     3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมี

วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า 

         3.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมการคิด

อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  มีคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

โดยรวมหลังเรียนสูงกว่าจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

         3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้

วิชาชีววิทยา เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก