ดาวน์โหลดแผนการจัดกิจกรรม  คลิกที่นี่

 

 

 

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1

                                                                                                                                      

กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์                                                    เวลา 1 ชั่วโมง

รายวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐาน            รหัส21101                      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่3 เลขยกกำลัง เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง

………………………………………………………………….……………………………………

1. สาระสำคัญ/ ความคิดรวบยอด

จำนวนที่เหมือนกันคูณกันหลาย ๆ ครั้ง สามารถเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ได้ ดังนี้

  •                   เขียนแทนด้วย    

  •                          เขียนแทนด้วย    

  •       เขียนแทนด้วย    

  •                       เขียนแทนด้วย    

                    บทนินาม

    ให้ และ เป็นจำนวนเต็มใด ๆ โดยที่ จะได้                เรียก ว่าเลขยกกำลังที่มี เป็นฐาน และ เป็นเลขชี้กำลัง

                   

2. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ

มาตรฐาน 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

ตัวชี้วัด

                ม.1/2 เข้าใจเกี่ยวกับเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม และเขียนแสดงจำนวน ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์  (scientific notation)

สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

มาตรฐาน  ค 6.1  มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ตัวชี้วัด

ม 1/1  ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา

              ม 1/2  ใช้ความรู้  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

             3.1 ด้านความรู้: นักเรียนสามารถ

                                1. บอกความหมายของเลขยกกำลังได้

                                2. บอกฐานและเลขชี้กำลังของเลขยกกำลังที่กำหนดให้ได้

            3.2  ด้านทักษะ/ กระบวนการ :

                                1. ในการแก้ปัญหา

                                2. ในการให้เหตุผล

                                3. ในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ

            3.3  ด้านคุณลักษณะ :

                                1. ความสนใจกระตือรือร้นในการเรียน

                                2. มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา

                                3. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง

                                4. ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

                                5. การแสดงความคิดเห็น

                             

4.  สาระการเรียนรู้

                สาระการเรียนรู้แกนกลาง เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม

                สาระการเรียนรู้ ความหมายของเลขยกกำลัง

5. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ CIPPA

                ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้เดิม

1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบว่า เมื่อเรียนจบตามแผนการจัดการเรียนรู้นี้แล้ว นักเรียนสามารถ

- บอกความหมายของเลขยกกำลังได้

- บอกฐานและเลขชี้กำลังของเลขยกกำลังที่กำหนดให้ได้

                                2. ครูทบทวนความรู้เดิม เรื่อง การแยกตัวประกอบ และการเขียนจำนวนในรูปของการคูณ

                                3. เพื่อปลุกเร้าความสนใจ และเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ ครูเปิดวีดีโอคาราโอเกะ เพลง “เลขยกกำลังหรรษา” ซึ่งเป็นเพลงที่ครูและนักเรียนร่วมกันแต่งขึ้น และได้รับรางวัลการประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มูลนิธิเปรม ติณสูลานนท์ ประจำปี 2557 ให้นักเรียนดูและฟัง

                                4.  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  เชื่อมเข้าสู่เนื้อหา เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง 

                ขั้นที่ 2  การแสวงหาความรู้ใหม่

                                1.  แบ่งนักเรียนกลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน โดยคละความสามารถ ประกอบด้วยคนเก่ง       ปานกลาง และอ่อน ครูแจกใบความรู้ที่ 3.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษา

                2.  ครูแจกใบกิจกรรมที่ 3.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษา ทำความเข้าใจ ครูสนทนา ซักถาม นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม จากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันเฉลย 

                                3.  ครูเปิดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เลขยกกำลัง เนื้อหา “ความหมายของ เลขยกกำลัง” บนจอโปรเจคเตอร์ ครูแนะนำ และอธิบายเพิ่มเติม และให้นักเรียนถามในส่วนที่สงสัย

                4.  ครูแจกใบกิจกรรมที่ 3.2 และใบงานที่ 3.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษา ทำความเข้าใจ และร่วมกันทำงานให้ทันตามกำหนดเวลา  เมื่อพบข้อสงสัยสามารถถามหรือปรึกษาเพื่อนในกลุ่มหรือครูผู้สอนได้

                5.  ขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมครูผู้สอนเดินสำรวจว่านักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติงานอย่างไร พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะและตอบข้อซักถามเมื่อนักเรียนพบปัญหา ครูอาจกระตุ้นโดยใช้คำถามให้นักเรียนหาข้อสรุปเป็นช่วง ๆ ของงาน

ขั้นที่ 3  การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม

                1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายประเด็นที่สำคัญที่ได้จากการศึกษาใบกิจกรรม   ที่ 3.2 และใบงานที่ 3.1 ช่วยกันตอบคำถาม

                2. ครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการทำกิจกรรมร่วมกัน สังเกตการทำงานในด้านกระบวนการคิด การวิเคราะห์ สรุปผลการศึกษาตามที่ได้ทำกิจกรรม

ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม

                1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความหมายของเลขยกกำลัง บอกความหมาย ฐานและเลขชี้กำลัง ของเลขยกกำลังที่กำหนดให้ได้ จากการศึกษาใบความรู้ และใบกิจกรรม และใบงาน โดยการอธิบายซักถามและตอบปัญหาซึ่งกันและกัน

                2. สุ่มนักเรียนนำเสนอข้อสรุปที่ได้หน้าชั้นเรียน โดยครูตรวจสอบความถูกต้อง และเปิดโอกาสให้นักเรียนที่ยังสงสัย หรือไม่เข้าใจได้ถาม และร่วมกันอภิปรายในประเด็นคำถามของแต่ละกลุ่มจนได้ข้อมูลที่ถูกต้อง

             ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้

                ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปความรู้ทั้งหมด โดยครูใช้คำถาม เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้ลำดับความคิดอย่างต่อเนื่อง และจัดระเบียบองค์ความรู้ในประเด็นสำคัญของเรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง

ขั้นที่ 6  การปฏิบัติและ/ หรือแสดงผลงาน

                1. ครูจับสลากหมายเลขกลุ่มให้ส่งตัวแทนออกมาเฉลยใบกิจกรรมที่ 3.2 และใบงาน ที่ 3.1 ถ้ากลุ่มใดเฉลยไม่ถูกต้องให้นักเรียนทั้งห้องร่วมกันแสดงความคิดเห็นแก้ไขให้ถูกต้อง

2. ครูตรวจสอบผลงานของแต่ละกลุ่ม แล้วนำไปติดป้ายนิเทศหน้าห้องเรียน

ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้

                              นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายและนำเสนอประโยชน์ของเรื่องเลขยกกำลัง มาใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วให้นักเรียนทำแบบทดสอบย่อยที่ 3.1

6. สื่อ/แหล่งเรียนรู้

             1. ใบความรู้ที่ 3.1 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง

             2. ใบกิจกรรมที่ 3.1 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง

             3. ใบกิจกรรมที่ 3.2 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง

             4. ใบงานที่ 3.1 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง

             5. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เลขยกกำลัง

             6. วีดิโอคาราโอเกะ และซีดี เพลงเลขยกกำลังหรรษา

             7. แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน

             8.   แบบบันทึกคะแนน

             9. แบบทดสอบย่อยที่ 3.1 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง

             10. กระดาษคำตอบ

             11. เฉลยคำตอบแบบทดสอบย่อยที่ 3.1 เรื่อง ความหมายของเลขยกกำลัง

7. การวัดและประเมินผล

จุดประสงค์การเรียนรู้

วิธีการวัด

และประเมิน

เครื่องมือ

การประเมิน

เกณฑ์

การประเมิน

1. ด้านความรู้

    1.1  บอกความหมายของ

เลขยกกำลังได้

    1.2  บอกฐานและเลขชี้กำลังขอ

เลขยกกำลังที่กำหนดให้ได้

-                   - ตรวจผลงานจาก

-                   ใบงาน

-                   - ทดสอบ

-ใบงานที่ 3.1

- แบบทดสอบย่อยที่ 3.1

- ผ่านเกณฑ์

ร้อยละ 75

ขึ้นไป

จุดประสงค์การเรียนรู้

วิธีการวัด

และประเมิน

เครื่องมือ

การประเมิน

เกณฑ์

การประเมิน

2.  ด้านทักษะ/ กระบวนการ :

    2.1  ในการแก้ปัญหา

    2.2  ในการให้เหตุผล

    2.3  ในการเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์

- ตรวจผลงาน

-ใบงานที่ 3.1

- ผ่านเกณฑ์

ร้อยละ 75

ขึ้นไป

3.  ด้านคุณลักษณะ :

    3.1 ความสนใจกระตือรือร้นในการเรียน

    3.2  มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา

    3.3  มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง

    3.4  ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

    3.5  การแสดงความคิดเห็น

- สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

- ผ่านเกณฑ์

ร้อยละ 75

ขึ้นไป

ความเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

………………………………………………………………………………………….………………

….………………………………………………………………..………………………………………

…………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

                                                                               (ลงชื่อ)    

                                                                                                  (นางดารา นาเมืองรักษ์)

                                                                                           ตำแหน่ง ครู ชำนาญการพิเศษ

 

ความเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

………………………………………………………………………………………….………………

….………………………………………………………………..………………………………………

…………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………               

                                                                                (ลงชื่อ)    

                                                                                                           (นายธีระพันธ์ หันทะยุง)

                                                                               รองผู้อำนวยการโรงเรียนนาข่าวิทยาคม

 

ความเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน

  ………………………………………………………………………………………….………………

….………………………………………………………………..………………………………………

…………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………                                                                                                                        

(ลงชื่อ)    

                                                                                                           (นายคมณ์ แคนสุข)

                                                                               ผู้อำนวยการโรงเรียนนาข่าวิทยาคม

 
บันทึกผลหลังสอน

………………………………………………………………………………………….………………….………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………..………………………………………………………………………………………….……………………..………………………………………………………………………………………………..……………….……

…………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………..…………………….………………………………………………………………………………………….…..……………………………………………………………………………………………………………………………………...…

…………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………..…………………….………………………………………………………………………………………….…..……………………………………………………………………………………………………………………………………...…

                                          

                                                                   (ลงชื่อ)

                                                                              (นางอรวรรณ  ประเกาทัน)

                           ตำแหน่ง ครู