- รายละเอียด
- จำนวนผู้เข้าชม: 1601
ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ SQ4R
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางกัญญา ภวภูตานนท์
ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนนาข่าวิทยาคม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โดยดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 133 คน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 60 คน และนักเรียน จำนวน 60 คน 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยนำข้อมูลจากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 และศึกษาเอกสารแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แบบ SQ4R ที่สร้างขึ้นโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พิจารณาตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้พัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม สังกัดกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 41 คน และ 4) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้การสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยพิจารณาจากความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนจำนวน 13 คน พิจารณาด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์และด้านความครอบคลุม ปัญหา และข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม สังกัดกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
1.1 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านอย่างมี
วิจารณญาณแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม สังกัดกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.86)
1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านอย่างมี
วิจารณญาณแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม สังกัดกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ น้อยที่สุด ( = 1.21) ไม่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ SQ4R
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ SQ4R โดยใช้ องค์ประกอบ 8 ประการ คือ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการดำเนินการ การประเมินผล การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ประโยชน์ที่ได้รับจากการให้ผู้เรียนเป็นผู้แสวงหา และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง คุณค่าและประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียนและผู้สอนจากนั้นตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ SQ4R ที่สร้างขึ้น คือ โดยใช้ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ SQ4R ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมทุกด้านในระดับ มากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ SQ4R กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม สังกัดกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ SQ4R พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการจัด การเรียนรู้ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบ SQ4R ที่สร้างขึ้น พบว่า มีความเหมาะสมความเป็นไปได้ ความถูกต้องครอบคลุม และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด