- รายละเอียด
- จำนวนผู้เข้าชม: 4261
แผนการจัดการเรียนรู้
การอ่านแบบประเมินค่าโดยใช้เทคนิค SQ4R
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
หน่วยที่ ๑
นิทานพื้นบ้าน เวลา ๔
ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๒ ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ เวลา ๑
ชั่วโมง
วันที่....................เดือน.............................................พ.ศ.
..................................................................
สาระที่
๑ การอ่าน
มาตรฐาน
ท ๑.๑ ม.๔/๓. วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่อ่านในทุกๆ
ด้านอย่างมีเหตุผล
ม.๔/๔.
คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน และประเมินค่า เพื่อนำความรู้ ความคิด ไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหา ในการดำเนินชีวิต
ม.๔/๕. วิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น
โต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และเสนอความคิดใหม่อย่างมีเหตุผล
ม.๔/๙ มีมารยาทในการอ่าน
สาระสำคัญ
การอ่านแบบประเมินค่า
เป็นการอ่านขั้นสูงที่ผู้อ่านต้องใช้สติปัญญาตีความ พินิจพิจารณา วิเคราะห์ วิจารญาณ ใคร่ครวญ ตัดสินเนื้อหาที่อ่านอย่างรอบคอบ เพื่อประเมินค่าสิ่งที่อ่าน สามารถวิเคราะห์ จำแนก
แยกแยะรายละเอียดองค์ประกอบของเนื้อหาเรื่องที่อ่าน
และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น
เพื่อค้นหาสภาพความเป็นจริงหรือสิ่งสำคัญของเรื่องที่อ่าน มาสงเคราะห์เนื้อหากับเหตุการณ์ บริบทหรือสิ่งต่าง ๆ
จนสามารถนำมาสรุปในรูปแผนภาพความคิดได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้และทักษะกระบวนการ(K,P)
เมื่ออ่านนิทานพื้นบ้านเรื่อง “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” โดยอ่านแบบประเมินค่าตามหลักการอ่านแบบ SQ4R แล้วสามารถทำกิจกรรมต่อไปนี้ได้
๑. ปฏิบัติการอ่านแบบประเมินค่าจากนิทานพื้นบ้านตามขั้นตอนแบบ SQ4R
ได้(K,P)
๒. ปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนทั้ง ๖
กิจกรรมตามแบบ SQ4R (K,P) ได้
๓. ทำแบบทดสอบหลังเรียนผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ ๘๐ (K,P)
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์(A)
๑.
มีความสนใจและตั้งใจเรียน
๒. มีน้ำใจ ให้อภัย เสียสละ สามัคคี
๓. มีมารยาทในการอ่าน
๔. มีมารยาทในการเขียน
สาระการเรียนรู้
๑. การอ่านแบบประเมินค่าจากนิทานพื้นบ้านโดยใช้หลักการอ่านแบบ SQ4R
๒. การตั้งคำถามและตอบคำถามจากนิทานพื้นบ้านที่อ่าน
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
๑.
นักเรียนทักทายครู ครูทักทายนักเรียนตอบ แล้วสนทนากับนักเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศ
ในห้องเรียนให้เป็นกันเอง โดยถามนำถึงการอ่านที่เคยเรียนมาแล้ว และปัญหาต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับการอ่านและการเรียนวิชาภาษาไทย
จึงโยงสู่เรื่องที่จะเรียนต่อไป
๒. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนตามแบบวิธีกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ(COOPERATION LEARNNING)
โดยมีการคละเพศและคละความสามารถระหว่างนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ซึ่งกลุ่มนี้จะใช้เป็นกลุ่มถาวรในการเรียนรู้และทำกิจกรรมต่อไป
๓. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการอ่านที่ผ่านมา ครูทบทวนและให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการอ่านแบบประเมินค่าที่เคยเรียนรู้มาแล้วในชั่วโมงปฐมนิเทศ(รายละเอียดมีในเนื้อหาแผนฯปฐมนิเทศ)
๔.
ครูชี้แจงเป้าหมายเมื่อจบบทเรียน
สามารถตอบคำถามในหัวข้อต่อไปนี้ได้คือ
๔.๑ บอกได้ว่านิทานพื้นบ้านเรื่อง “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
๔.๒ บอกได้ว่าในนิทานพื้นบ้านเรื่อง “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” มีจุดประสงค์อะไร
๔.๓ บอกได้ว่านิทานพื้นบ้านเรื่อง “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” มีเนื้อหาน่าเชื่อถือหรือไม่
๔.๔
บอกได้ว่าเนื้อหานิทานเรื่อง
“ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่”
ต้องการสื่อคุณธรรมอะไร
๕. ครูแนะนะสิ่งที่จะประเมิน
ประเด็นการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน
เพื่อให้เข้าใจตรงกัน
ขั้นประกอบการเรียน
๖.
หัวหน้าชั้นเรียนนำแบบฝึกทักษะนิทานเรื่อง
“ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่” ไปแจกนักเรียนให้ครบทุกคน
๗. นักเรียนแต่ละคนปฏิบัติการอ่านนิทานพื้นบ้านตามแบบวิธี SQ4R ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ ๑ S(Survey)ขั้นสำรวจ
ให้นักเรียนอ่านแบบสำรวจคร่าว
ๆ จากนิทานพื้นบ้านที่กำหนดให้
โดยพิจารณาดูส่วนประกอบต่าง ๆ ของนิทาน เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง คำนำ จุดมุ่งหมาย
แนวคิดของผู้แต่ง สำรวจดูสารบัญ ดัชนี
อภิธานศัพท์ ภาคผนวก บทสรุป
แบบฝึกหัด จากนั้นให้ตรวจสอบสาระที่ปรากฏอยู่ในนิทานทุก ๆ ที่ ด้วยวิธีอ่านสำรวจเนื้อเรื่องทั้งเล่มอย่างรวดเร็วเพื่อดูว่าเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
มีเหตุการณ์ฉาก ตัวละครสำคัญอะไร
แล้วทำแบบฝึกทักษะเล่มที่ ๑
กิจกรรมที่ ๑ S(Survey)
ขั้นที่ ๒ Q(Question)ขั้นตั้งคำถาม
หลังจากอ่านอย่างสำรวจเสร็จแล้ว ให้นักเรียนตั้งคำถาม
ถามตนเองว่าสิ่งที่ต้องการทราบคืออะไร และถามจากเนื้อเรื่องนิทานพื้นบ้านที่อ่านตามลำดับหัวข้อเรื่อง
ในแต่ละย่อหน้า โดยเขียนคำถามลงในแบบฝึกทักษะเล่มที่ ๑
กิจกรรมที่ ๒ Q(Question) ด้วยการตั้งคำถามอย่างน้อย
๕ คำถาม
ขั้นที่ ๓
R1(READ) ขั้นอ่านอย่างรอบคอบ
ให้นักเรียนอ่านอย่างพินิจพิจารณา
ละเอียดรอบคอบ เพื่อจับใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้า
ขีดเส้นใต้เฉพาะส่วนที่สำคัญ ให้ความสนใจคำ วลี
หรือประโยคที่พิมพ์ตัวเอนหรือตัวหนา หากข้อความใด ไม่เข้าใจให้บันทึกไว้เพื่อถามครู จากนั้นให้ตอบคำถามที่ตนเองตั้งไว้ โดยเขียนคำตอบลงในแบบฝึกทักษะเล่มที่ ๑
กิจกรรมที่ ๓ R(READ) ให้ได้คำตอบเป็นที่พอใจ
ขั้นที่ ๔ R2(RECITE) ขั้นจดจำ
เมื่อเข้าใจคำตอบ
และเนื้อเรื่องจากการอ่านแล้ว ให้นักเรียนพยายามจดจำข้อความที่สำคัญ โดยการจดคำสำคัญ ประโยคสำคัญ หรือบันทึกย่อเพื่อเตือนความจำของตนเอง
และพยายามถามตนเองว่าจากการอ่านครั้งนี้ได้ความคิดอะไรใหม่ ๆ บ้าง
ทดสอบความจำโดยการปิดหน้ากระดาษแล้วดูบันทึกที่เขียนไว้ว่าจำได้หรือไม่
ถ้าตอบไม่ได้ให้ทบทวนคำถาม คำตอบ และจำจากความเข้าใจ ทดลองเล่าเนื้อหานิทานที่อ่านมาทั้งหมดเป็นคำพูดของตนเอง
พร้อมทั้งตรวจสอบว่าตอบคำถามได้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ถ้ายังไม่ครบถ้วนให้เขียนคำตอบอีกครั้ง โดยเขียนลงในแบบฝึกทักษะเล่มที่ ๑ กิจกรรมที่ ๔
R(RECITE)
ขั้นที่ ๕ R3(REVIEW) ขั้นทบทวน
ให้นักเรียนทบทวนเรื่องราวทั้งหมดจากการอ่านบันทึกย่อ
และทำบันทึกย่อจากความจำว่าถูกต้องและจำได้หรือไม่ ทบทวนจุดสำคัญใหญ่ ๆ
และจุดสำคัญรองลงมาอีกครั้งหนึ่ง
พร้อมทั้งสรุปสาระสำคัญ ๆ
ของนิทานที่อ่าน
แล้วบันทึกไว้เพื่อป้องกันการลืมลงในแบบฝึกทักษะเล่มที่ ๑
กิจกรรมที่ ๕ R(REVIEW)
ขั้นที่ ๖
R4(Reflect) ขั้นวิเคราะห์
ให้นักเรียนวิเคราะห์
วิจารณ์ เรื่องที่อ่านแล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ โดยครูถามนำ เช่น
๑.
เรื่องนี้มีใจความสำคัญว่าอย่างไร
๒.
ข้อคิดของเรื่องนี้คืออะไร
๓.
เราจะนำเรื่องนี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
หากนักเรียนไม่เข้าใจ
หรือตอบคาถามไม่ได้ ให้ย้อนกลับไปอ่านเนื้อหาแบบฝึกทักษะใหม่อีกครั้ง แล้วตอบใหม่ หรือทากิจกรรมนั้นใหม่
หรือขอคำแนะนาจากครู
และให้ทำกิจกรรมในแบบฝึกทักษะเล่มที่
๑ กิจกรรมที่ ๖
R(Reflect)
๘. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยความตั้งใจ
มีระเบียบวินัยและใช้หลักโยนิโสมนสิการในการทำแบบทดสอบ
๙. นักเรียนแลกเปลี่ยนกันตรวจแบบทดสอบ
โดยครูเฉลยพร้อมอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในข้อที่นักเรียนสงสัย จากนั้นนักเรียนส่งผลคะแนนให้ครู
ขั้นสรุป
๑๐. ครูแจ้งผลคะแนนให้นักเรียนทราบทุกคน พร้อมกับชมเชยในความร่วมมือ ความตั้งใจของทุกคนเพื่อเป็นกำลังใจให้นักเรียนพัฒนาทักษะการอ่านแบบประเมินค่าให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
๑๑. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปเรื่องที่อ่าน ครูแนะนำให้รู้จักการอ่านนิทานพื้นบ้านแบบประเมินค่าและวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์การนิทานพื้นบ้านอย่างเข้าใจ เพื่อจะได้ไม่หลงในนิทานพื้นบ้านนั้น ๆ
สื่อ /
แหล่งการเรียนรู้
๑. แบบฝึกทักษะนิทานพื้นบ้านเรื่อง
“ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่”
๒. แบบทดสอบหลังเรียน
การวัดผลประเมินผล ด้านความรู้(K)
๑. ความเข้าใจในการอ่านนิทานพื้นบ้านเรื่อง “ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่”
๒.
การทำแบบทดสอบหลังเรียน
ด้านทักษะกระบวนการ(P) การปฏิบัติกิจกรรมทั้ง ๖ ขั้นตอนตามแบบ SQ4R
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์(A)
๑.
ความสนใจและตั้งใจเรียน
๒. ความมีน้ำใจ ให้อภัย เสียสละ สามัคคี
๓. มารยาทในการอ่าน
๔. มารยาทในการเขียน
ประเด็นการวัดและประเมิน
๑. ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหานิทานพื้นบ้าน(K) ด้วยการทำแบบทดสอบขอบข่ายดังนี้
๑.๑ ในนิทานพื้นบ้านนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
๑.๒ ในนิทานพื้นบ้านนั้นมีจุดประสงค์อะไร
๑.๓ นิทานพื้นบ้านนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่
๒. กระบวนการปฏิบัติกิจกรรม(P)
การปฏิบัติกิจกรรมทั้ง ๖
ขั้นตอนตามแบบ SQ4R
๓. คุณลักษณะอันพึงประสงค์(A)
๓.๑ ความสนใจและตั้งใจเรียน
๓.๒ ความมีน้ำใจ ให้อภัย เสียสละ สามัคคี
๓.๓ มารยาทในการอ่าน
๓.๔ มารยาทในการเขียน
เครื่องมือวัดผลและประเมินผล
๑. ด้านความรู้(K)
๑.๑ แบบฝึกทักษะทั้ง ๖
กิจกรรมตามแบบ SQ4R
๑.๒ ทดสอบหลังเรียน
๒. ด้านทักษะกระบวนการ(P)
๓. ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์(A)
แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เกณฑ์การประเมิน
๑.เกณฑ์การประเมินด้านความรู้และทักษะกระบวนการ(K,P)
ขั้นกิจกรรม |
ระดับคุณภาพ |
||
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
|
ขั้นที่ ๑(S) อ่านสำรวจ |
เขียนอธิบายครอบคลุมทุกประเด็น(๕
ข้อ) |
เขียนอธิบายครอบคลุม เป็นส่วนใหญ่(๓-๔ข้อ) |
เขียนอธิบายไม่ครอบคลุม (๑-๒ ข้อ) |
ขั้นที่ ๒ (Q) การตั้งคำถาม |
ตั้งคำถามครอบคลุมเนื้อหา(๖-๘คำถาม) |
ตั้งคำถามครอบคลุม เป็นส่วนใหญ่(๔-๖คำถาม) |
ตั้งคำถามไม่ครอบคลุม (๑-๓คำถาม) |
ขั้นที่ ๓ (R1) อ่านรอบคอบ |
ตอบคำถามถูกต้อง ตรงประเด็นทุกข้อ |
ตอบคำถามถูกต้อง ประเด็นเป็นส่วนใหญ่ |
ตอบคำถามไม่ถูกต้องและไม่ตรงประเด็นเป็นส่วนใหญ่ |
ขั้นที่ ๔(R2) การจดจำ |
เขียนบันทึกการอ่านได้ครอบคลุม |
เขียนบันทึกการอ่านได้ครอบคลุมเป็นส่วนใหญ่ |
เขียนบันทึกการอ่านไม่ครอบคลุม |
ขั้นที่ ๕(R3) ตั้งคำถาม |
สรุปใจความสำคัญและข้อคิดของเรื่องได้ดีครอบคลุมทุกประเด็น |
สรุปใจความสำคัญและข้อคิดของเรื่องได้ดี แต่ไม่ครอบคลุม |
สรุปใจความสำคัญและข้อคิดของเรื่องไม่ดีและไม่ครอบคลุม |
ขั้นที่ ๖(R4) -วิเคราะห์ -แสดงความคิดเห็น |
เขียนวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นได้ดี
ครอบคลุมเนื้อหาทุกประเด็น |
เขียนวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นครอบคลุมเนื้อหาได้ดีเป็นส่วนใหญ่ |
เขียนวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นครอบคลุมเนื้อน้อยมาก |
ทำแบบ ทดสอบ หลังเรียนเรียน |
แบบทดสอบ ๑๐ ข้อ ทำถูกต้อง ๘
ข้อขึ้นไป |
แบบทดสอบ ๑๐ ข้อ ทำถูกต้อง ระหว่าง
๖-๗ ข้อ |
แบบทดสอบ ๑๐ ข้อ
ทำถูก ต้อง ๕ ข้อลงมา |
๒.เกณฑ์การประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์(A)
ประเด็น |
ระดับคุณภาพ |
||
สูง |
ปานกลาง |
ต่ำ |
|
มีความสนใจและตั้งใจเรียน |
๑.มีความสนใจก่อนเรียน ๒.มีความสนใจขณะอ่าน๓.มีความสนใจขณะทำแบบทดสอบ ๔.ตั้งใจเรียนตลอดเวลา ที่เรียน |
มีความบกพร่อง ๑-๒ ข้อในจำนวน ๔ ข้อ |
มีความบกพร่อง ๒-๓ ข้อในจำนวน ๔ ข้อ |
มีน้ำใจ ให้อภัย
เสียสละสามัคคี มีวินัย |
๑.มีน้ำใจกับเพื่อน ๒.ให้อภัยเพื่อน ๓.มีความเสียสละ ๔.มีความสามัคคี ๕.มีวินัย |
บกพร่องคุณธรรม ๑-๒ ข้อ ในจำนวน ๕ ข้อ |
บกพร่องคุณธรรม ๑-๒ ข้อ ในจำนวน ๕ ข้อ |
มารยาท การอ่าน |
-ตั้งใจอ่าน -ไม่ส่งเสียงรบกวนเพื่อน |
-ตั้งใจอ่านเป็นส่วนใหญ่ -ส่งเสียงรบกวนเพื่อนเป็นบางครั้ง |
-ไม่สนใจอ่าน -ส่งเสียงรบกวนคนอื่น |
มารยาท การเขียน |
-ตั้งใจเขียน -ไม่ส่งเสียงรบกวนเพื่อน |
-ตั้งใจเขียนเป็นส่วนใหญ่ -ส่งเสียงรบกวนเพื่อนเป็นบางครั้ง |
-ไม่สนใจเขียน -ส่งเสียงรบกวนคนอื่น |
ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้บริหาร
ได้ตรวจดูแผนฯโดยตลอดแล้ว เห็นว่าเป็นแผนฯที่ดี
มีองค์ประกอบของแผนฯครบถ้วนตามหลักการจัดทำแผนฯที่ดีทั่วไป ผู้จัดทำได้ใช้แบบแผน เทคนิคการเรียนรู้แบบ QS3R มาพัฒนาการอ่าน แบบประเมินค่า ถือว่าเป็นเทคนิคและวิธีการที่ดี
เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนได้
เป็นอย่างดี ขอให้ปฏิบัติกิจกรรมต่อเนื่องตามกิจกรรมการเรียนอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาการอ่านของนักเรียนต่อไป
(ลงชื่อ)............................................
(นายวีระ ภวภูตานนท์)
รองผู้อำนวยการโรงเรียนนาข่าวิทยาคม
บันทึกหลังการเรียนรู้
เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว
ผลการเรียนรู้ของนักเรียนโดยรวมปรากฏดังนี้
๑. ด้านความรู้และกระบวนการทำกิจกรรม(K,P)
ขั้นเตรียมและทำแบบทดสอบก่อนเรียน
การแบ่งกลุ่มนักเรียนตามแบบกลุ่มร่วมมือ
เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม ปรากฏว่าทุกคนให้ความร่วมมืออย่างดี การชี้แจงถึงเป้าหมายการเรียน แนะนำสื่อที่ใช้ทำให้นักเรียนเข้าใจและสนใจสิ่งที่จะเรียนมากยิ่งขึ้น จากนั้นให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเป็นรายบุคคล
ปรากฏว่านักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้เป็นย่างดี สรุปผลการทำแบบทดสอบได้ดังนี้
นักเรียนจำนวน ......... คน ทำแบบทดสอบก่อนเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๘๐ จำนวน...........คน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
การให้นักเรียนดูบทร้อยกรอง
และฟังการอ่านบทร้อยกรองนำเรื่องของครู
ครูให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคำอักษรนำ ตลอดจนหนังสือส่งเสริมการอ่าน และแนะนำให้นักเรียนวางแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน ปรากฏว่านักเรียนทุกคนให้ความสนใจ มีความตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี
กิจกรรมประกอบกิจกรรมการเรียน
ปรากฏว่านักเรียนร่วมกันอ่าน
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นอย่างดี สรุปเรื่องที่เรียนได้ดี
และสามารถตอบคำถามที่ครูถามนำได้ตรงประเด็น
แสดงว่านักเรียนเข้าใจเนื้อหาและประเด็นที่ครูต้องการสื่ออยู่ในระดับดี ส่วนการทำกิจกรรมที่ ๑-๒
ปรากฏผลดังนี้
นักเรียนจำนวน...............คน
ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้จำนวน..............คน คิดเป็นร้อยละ..........
๒.
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) นักเรียนส่วนใหญ่มีความตระหนัก มีจิตสำนึกในเรื่องคุณธรรม ไม่ว่าจะเป็นระเบียบวินัย ความมีน้ำใจ ความ ขยัน อดทน มีความสนใจในเรื่องที่เรียน มีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ในงานที่ได้รับมอบหมาย ถึงจะพูดคุยกันก็เป็นไปเพื่อปรึกษาหารือ
เพื่อทำความเข้าใจในประเด็นปัญหาให้ถูกต้อง ไม่ส่งเสียงดังเกินไป มีคุณธรรมตามที่ได้แนะนำ
ปัญหา/อุปสรรค
นักเรียนบางคน(หมายเลข.............) มีปัญหาในเรื่องการพูดเสียงดัง เป็นที่รบกวนคนอื่น ทำให้กลุ่มอื่นไม่มีสมาธิ
แนวทางแก้ไข
จากปัญหาที่พบดังกล่าว
ได้ให้คำแนะนำในการพูดคุย
ให้ระมัดระวังในการใช้คำพูด
ได้ให้คำแนะนำอย่างมีเมตตา
และเป็นกัลยาณมิตร
ทำให้นักเรียนพร้อมรับ
นำไปแก้ไข พัฒนาต่อไป
ลงชื่อ………………………………………..
(นางกัญญา ภวภูตานนท์)
ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ