กำหนดการของพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลหลังเมือง

                วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗

                เวลา ๑๘.๐๐ น. เจริญพระพุทธคุณ

                เวลา ๑๙.๐๐ กิจกรรมสมโภชเฉลิมฉลองโดยหมอลำพื้นบ้าน

                วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๗

                เวลา ๐๘.๐๐ พ่อค้าประชาชนข้าราชการทุกภาคส่วนพรัอมกันที่บริเวณงาน

                -วงดุริยางค์โรงเรียนบ้านนาข่าวิทยาคมบรรเลงเพลงมหาฤกษ์

                -ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย

                -พิธีฝ่ายสงฆ์อาราธนาศีล

                -นายกสมาคมพัฒนาท้องถิ่นกล่าวรายงานต่อประธาน

                -พราหมณ์เชิญประธานประกอบพิธี

                -พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา

               -ประธานและแขกผู้มีเกียรติถวายไทยธรรม อาหารปิ่นโตแด่พระสงฆ์ ๙ รูป

                -ประธานสงฆ์ให้โอวาท อนุโมทนา ผู้ร่วมพิธีกรวดน้ำ

                -เสร็จพิธีสงฆ์

                เวลา ๑๐.๓๐ น. ประธานมอบเกียรติบัตรสายตระกูลที่สนับสนุนการก่อสร้างศาลหลักเมือง ประธานให้โอวาท พบปะผู้เข้าร่วมพิธี ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ปรานปลูกต้นไม้มงคลเป็นที่ระลึก

                เวลา ๑๑.๐๐น. พิธีสมโภชศาลหลักเมือง

                -การแสดงของครูและนักเรียนโรงเรียนนาข่าวิทยาคม

                -กิจกรรมบวงสรวงโดยหมอลำพื้นบ้าน

หมายเหตุ : กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

 

-----------          

การตั้งชุนชนขนข่าเป็นเมืองพยัคฆภูมิพิสัย

                ในปีพ.ศ.๒๔๒๒ พระรัตนวงษา (คำสิง) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ มีความเห็นว่าควรตั้งเมืองใหม่เพื่อความสะดวกต่อการปกครอง จึงให้ท้าวเทศและท้าวเดช ซึ่งเป็นบุตรชาย พาไพร่พลบริวารออกไปตั้งเมืองใหม่โดย ยกบ้านเมืองเสือเป็นเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ข้อท้าวเทศเป็นพระศรีสุวรรณวงษา เจ้าเมืองพยัคฆภูมพิสัย

                แต่เมื่อท้าวเทศและท้าวเดช นำสารตรามาตั้งเมืองกลับได้ไปตั้งที่บ้านเมืองเสือไม่ กลับไปตั้งที่บ้านนาข่าซึ่งเป็นเขตแดนของเมืองมหาสารคาม และในเวลา ๓ ปีต่อมาคือในปี พ.ศ.๒๔๒๕ ทางเมืองมหาสารคามจึงขอยกบ้านนาเลาเป็นเมืองวาปีปทุม

ในปีจุลศักราช ๑๒๕๐ (พ.ศ.๒๔๓๑) พระศรีสุวรรณวงศา (ขัติยะ) เจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ป่วยถึงแก่กรรม และพระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) ได้มีตราจุลราชสีห์แต่งตั้ง อุปฮาด (เดช) ผู้น้องเป็นพระศรีสุวรรณวงศา รักษาดูแลราชการบ้านเมืองต่อจากพระศรีสุวรรณวงศา (ขัติยะ)

สาเหตุของการย้ายเมือง

เมื่อพระศรีสุวรรณวงศา (ขัติยะ) แก่กรรม เพียงปีเดียวนั้น ในปี ๒๔๓๒ ฝ่ายพระเจริญราชเดช (ฮึง) เจ้าเมืองมหาสารคาม ฟ้องร้องลงไปยังทางกรุงเทพฯ ว่าพระศรีสุวรรณวงศา (เดช) เจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัยไปตั้งเมืองที่นาข่าซึ่งเป็นเขตแดนเมืองมหาสารคาม

เวลาล่วงเลยมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๓๔ เมื่อกรมหลวงพิชิตปรีชากรเสด็จมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการหัวเมืองลาวกาว แต่ก็ทรงไม่ได้ตัดสินข้อพิพาทระหว่างเมืองมหาสารคามและเมืองพยัคฆภูมิพิสัยกรณีการที่พระศรีสุวรรณวงศา (ขัติยะ) พาไพร่พลบริวารมาตั้งเมืองล้ำเขตแดนมหาสารคาม

จนกระทั้ง พ.ศ.๒๔๓๖ เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เสด็จมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการ ได้รับสั่งให้พระศรีสุวรรณวงศา (เดช) ย้ายจากบ้านนาข่าไปตั้งที่บ้านเมืองเสือ ตามที่ขอไปแต่แรก พระศรีสุวรรณวงศา (เดช) จึงย้ายเมืองพยัคฆภูมิพิสัย จากบ้านนาข่าไปอยู่ที่บ้านป๋าหลาน (ปะหลาน)ใกล้กับบ้านเมืองเสือที่กำหนดไว้แต่เดิม

ร่องรอยการตั้งชุมชมบ้านนาข่าเป็นเมืองพยัคฆภูมิพิสัย

                ในการนำไพร่พลบริวารเข้ามาตั้งชุมชนบ้านน่าข่าเป็นเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ของกลุ่มพระศรีสุวรรณวงศา (ขัติยะ) ในปัจจุบันปรากฎร่องรอยทางประวัติศาสตร์ในชุมชนหลายแห่งด้วยกัน ในที่นี้จะนำเสนอร่องรอยทางประวัติที่ปรากฎในชุมชนบ้านนาข่า ซึ่งยังมีให้เห็นและสามารถหาดูได้ มีดังนี้

                ๑.ดอนปู่ตา (ผีปู่ตา) ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของชุมชน (นอกชุมชน) คติความเชื่อเรื่องผีดอนปู่ตาเป็นความคติความเชื่อแต่ดั่งเดิมของคนอีสานเมื่อแต่ครั้งโบราณ บางแห่งเรียกว่า “ผีปู่ตา” ซึ่งชาวอีสานจะทำการปลูกศาลหรือที่นิยมเรียกว่า “ตูบปู่ตา” ไว้นอกบริเวณหมู่บ้าน ไม่กำหนดทิศทาง แต่มักเลือกสถานที่ซึ่งเป็นดอนน้ำท่วมไม่ถึง และเป็นที่ที่มีป่าหนาทึบมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางครั้งชาวบ้านนิยมเรียก “ดอนปู่ตา”

๒.มเหศักดิ์หลักเมือง (ผีอาฮัก) ตั้งอยู่ที่คุ้มจอมใจเจ้าหลักเมือง ลักษณะของหลักเมืองนั้น เป็นเสาหลักเมืองที่ทำด้วยหินลูกรัง มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร กว้าง ๓๐ เซนติเมตร ถัดจากเสาหลักเมืองเพียงไม่กี่เมตรเป็นศาลหลักเมือง ซึ่งชาวบ้านสร้างสถานที่ดังกล่าวขึ้นเพื่อเคารพสักการะเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต

๓.สถานที่สำหรับออกว่าราชการเมือง โฮงเจ้าเมือง อยู่บริเวณด้านหลังของศาลหลักเมืองจดทางทิศตะวันออก ปัจจุบันเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ลักษณะบ้านของเจ้าเมืองจากการสอบถามคุณยายคุม ขณะนั้นอายุ ๗๓ ปี และคุณยายควงพันโณราช อายุ ๗๒ ปีเล่าว่า “บ้านของเจ้าเมืองเป็นบ้านไม้ ๒ ชั้น หลังคาทำด้วยไม้เป็นแผ่นๆ คล้ายเกล็ดปลาวางซ้อนกัน อยู่อย่างสวยงาม”

                ๔.เรือนจำ (คุก) อยู่ใกล้กันกับจวนเจ้าเมืองไปทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน มีไว้สำหรับคุมขังโจรผู้ร้ายและนักโทษ ซึ่งการลงโทษผู้กระทำความผิด

                ๕.คอกวัวหลวง อยู่บริเวณด้านหน้าคุก บริเวณทางด้านตะวันตก ซึ่งสถานที่ดังกล่าวนั้นในปัจจุบันได้รกร้างไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก

                ๖.วัดเก่า (ก่อนที่จะสร้างใหม่ ณ ที่ปัจจุบัน) ก่อนที่จะมาสร้างวัดใหม่ที่วัดลัฏฐิวัน ในปัจจุบัน บริเวณวัดเก่าครอบคลุมพื้นที่คุ้มมิตรสัมพันธ์และบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ตั้งกุฏิ ซึ่งบริเวณดังกล่าวในปัจจุบันเป็นป่าไผ่ สวนหม่อนชาวบ้าน สาเหตุของการย้ายวัดมาสร้างที่ใหม่นี้สันนิษฐานว่า เมื่อชุมชนมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นจึงขยายพื้นที่เพาะปลูกและบ้านเรือนมาทางทิศตะวันตก พร้อมทั้งขุดสระน้ำขึ้นใหม่ไว้ใช้อุปโภคบริโภค

แนวคิดการฟื้นฟูเมือง

                ในอดีตบริเวณชุมชนบ้านนาข่า เคยเป็นสถานที่ที่ได้รับการยกฐานะให้เป็นเมืองพยัคฆภูมิพิสัย ภายใต้การนำของพระศรีสุวรรณวงศา (ขัติยะ) และท้าวเดช อุปฮาด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สภาพชุมชนบ้านนาข่าในปัจจุบันมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และตั้งบ้านเรือนหลายร้อยหลังคา จึงทำให้ยากต่อการดูแลทุกข์สุขของประชาชน เนื่องด้วยโครงสร้างทางสาธารณูปโภคพื้นฐานไม่พอเพียง

               ดังนั้นท่าน ดร.อำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการยุทธศาสตร์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ซึ่เป็นผู้มีความมุ่งมั่น มีวิสัยทัศน์ และเล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของศิลปและวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานจึงมีแนวคิดที่จะเร่งทำให้ตำบลนาข่าที่เคยรุ่งเรืองในอดีตเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ให้กลับขึ้นมารุ่งโรจน์อีกครั้ง

                โดยการฟื้นฟูศิลปและวิทยาการพื้นบ้านของอีสานให้กลับคืนมาให้ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายอีสานโบราณ ตำรายาสมุนไพร ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วรรณกรรม การแต่งกาย และอาหาร เป็นต้น

                ดังนั้นท่านจึงผลักดันให้มีการจัดสร้างศาลหลักเมืองแห่งนี้ขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในตำบลแห่งนี้ และผู้ที่มาเยี่ยมเยือนจากต่างถิ่น ดังเช่นเมื่อครั้งในอดีต ซึ่งเคยเป็นสถานที่ซึ่งบรรพบุรุษของชาวบ้านชุมชนนาข่าใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจ