การเพิ่มคะแนนความดี


          นักเรียนที่ทำความดีหรือสร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง ชมเชย เช่น การช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียน ช่วยเหลือสาธารณประโยชน์ ชนะการประกวดแข่งขันประเภทต่าง ๆ หรือเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนทั่วไปซึ่งสมควรให้คะแนนความประพฤติในแต่ละปีการศึกษาการพิจารณาเพิ่มคะแนนความประพฤติ มีเกณฑ์ดังนี้
     1. ผู้มีอำนาจเพิ่มคะแนน
เพิ่มครั้งละ 5 – 10 คะแนน เป็นอำนาจของครูที่ปรึกษาและครูทั่วไป
เพิ่มครั้งละ 5 – 30 คะแนน เป็นอำนาจของครูหัวหน้าระดับและหัวหน้าคณะ
เพิ่มครั้งละ 5 – 100 คะแนน เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร
     2. พฤติกรรมของนักเรียน
        2.1 พฤติกรรมของนักเรียนที่สมควรเพิ่มคะแนนความประพฤติ 5 คะแนน ได้แก่
           – เก็บของมีค่าราคาต่ำกว่า 100 บาท
           – มีความเสียสละช่วยเหลือครู
           – บำเพ็ญประโยชน์ต่อโรงเรียน เช่น เก็บขยะ ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนกิจกรรมรณรงค์เรื่องความสะอาด ประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม
        2.2 พฤติกรรมของนักเรียนที่สมควรเพิ่มคะแนนความประพฤติ 10 คะแนน ได้แก่
           – เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน หรือช่วยเหลืองานโรงเรียน
           – เก็บของมีค่าราคาตั้งแต่ 100 – 1,000 บาท
        2.3 พฤติกรรมของนักเรียนที่สมควรเพิ่มคะแนนความประพฤติ 15 คะแนน ได้แก่
           – มีความเสียสละช่วยเหลือครู/วัน
           – ร่วมประกวด/แข่งขัน ทั้งในและนอกโรงเรียน
           – เก็บของมีค่าราคาตั้งแต่ 1,001 – 5,000 บาท
           – ได้รับการประเมินจากครูที่ปรึกษาให้เป็นกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนดีเยี่ยมประจำภาคเรียน
           – เป็นตัวแทนของโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน/ครั้ง
       2.4 พฤติกรรมของนักเรียนที่สมควรเพิ่มคะแนนความประพฤติ 20 คะแนน ได้แก่
          – ผ่านการประเมินเครื่องแบบนักเรียนและทรงผม/ครั้ง
          – ช่วยเหลือครูให้รู้เบาะแสนักเรียนผู้กระทำความผิดต่อสิ่งเสพติด การพนันการลักขโมยและทำลายทรัพย์สินของโรงเรียน
          – เป็นกรรมการคณะสีและกรรมการผู้ตัดสินกีฬาภายใน/กีฬาสถาบัน
       2.5 พฤติกรรมของนักเรียนที่สมควรเพิ่มคะแนนความประพฤติ 30 คะแนน ได้แก่
         – ชนะเลิศการประกวดห้องเรียน
         – ชนะเลิศประกวด/แข่งขันระดับโรงเรียน
         – มีหลักฐานเอกสารช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือเพื่อนให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์และการเรียนดีขึ้นต่อ 1 ภาคเรียน หรือ 1 ปีการศึกษา
         – เก็บของมีค่า 5,000 บาทขึ้นไป
         – เป็นตัวแทนโรงเรียนเข้าร่วมการอบรม/เข้าค่าย/สัมมนา
      2.6 พฤติกรรมของนักเรียนที่สมควรเพิ่มคะแนนความประพฤติ 40 คะแนน ได้แก่
        – เข้าร่วมการแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษาและมีเอกสารรับรอง
        – เข้าร่วมการแข่งขันระดับจังหวัดและมีเอกสารรับรอง
        – คณะกรรมการนักเรียนตลอดปีการศึกษา
        – เป็นหัวหน้าห้อง และเป็นกรรมการห้องเรียน
        – ช่วยงานดนตรี ดุริยางค์ตลอดปีการศึกษา
      2.7 พฤติกรรมของนักเรียนที่สมควรเพิ่มคะแนนความประพฤติ 50 คะแนน ได้แก่
       – ได้รับรางวัลการแข่งขันระดับเขตพื้นที่การศึกษาและมีเอกสารรับรอง
       – ได้รับรางวัลการแข่งขันระดับจังหวัดและมีเอกสารรับรอง
       – ช่วยเหลืองานกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอผลงานปรากฏชัด
       – เข้าค่ายฝึกทักษะตลอดปีการศึกษา
      2.8 พฤติกรรมของนักเรียนที่สมควรเพิ่มคะแนนความประพฤติ 70 คะแนน ได้แก่
       – ได้รับรางวัลการประกวด/แข่งขันระดับภาค
       – ช่วยเหลืองานกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำผลงานดีเป็นที่ยอมรับของกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน
       – เข้าค่ายที่กลุ่มบริหารกิจการนักเรียนหรือหน่วยงานอื่นๆ จัดขึ้น
2.9 พฤติกรรมของนักเรียนที่สมควรเพิ่มคะแนนความประพฤติ 100 คะแนน ได้แก่
      – เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ
      – ได้รับรางวัลการแข่งขันระดับประเทศและมีเอกสารรับรอง
      – ได้รับรางวัลการแข่งขันระดับนานาชาติและมีเอกสารรับรอง
      – บรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณี ที่จัดโดยกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนหรือหน่วยงานอื่นๆ จัดขึ้น
     – ได้รับการยกย่องชมเชยจากหน่วยงานภายนอกเป็นลายลักษณ์อักษร

ผลของคะแนนความประพฤติที่รับเพิ่ม
1. นักเรียนที่รับคะแนนความประพฤติรวม 200 คะแนนขึ้นไป จะได้รับเกียรติบัตรนักเรียนคนดี ศรีฟ้าขาวประเภทผู้มีระเบียบวินัยดีเด่นประจำปีการศึกษานั้น ๆ
2. นักเรียนคนใดรับเกียรติบัตรคนดีศรีฟ้าขาวติดต่อกัน 3 ปี มีคะแนนความประพฤติ500 คะแนน ขึ้นไป โดยไม่ถูกหักคะแนนความประพฤติ จะได้รับโล่เกียรติยศให้รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ระเบียบนี้